ฝุ่น PM 2.5 (Particular Matter 2.5) เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งสามารถเล็ดลอดเข้าไปภายในร่างกายได้จนถึงปอดและกระแสเลือด ประกอบไปด้วยสสารหลากหลายชนิด เช่น ไนเตรต ซัลเฟต สารประกอบเคมีอินทรีย์ แร่โลหะ ดิน ฝุ่นละออง รวมถึงสารก่อภูมิแพ้และสารก่อมะเร็ง ฉะนั้น ฝุ่น PM 2.5 จึงค่อนข้างเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้มากกว่าฝุ่นหยาบที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมโครเมตร (Particular Matter 10: PM 10) โดยเฉพาะหากสูดดมฝุ่นนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

โดยปกติ ฝุ่น PM 2.5 มักเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ของควันท่อไอเสียรถยนต์หรือยานพาหนะอื่น ๆ การปล่อยมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า การเผาขยะในพื้นที่โล่งหรือเตาเผาขยะ โดยไฟป่าและพายุฝุ่นจะทำให้ฝุ่นนี้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งการสูดดมฝุ่นชนิดนี้จะส่งผลเสียต่อกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น

เพิ่มอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบและสร้างความเสียหายต่อเซลล์
ส่งผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือด ทำให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดี
ทำให้ระดับแคลเซียมภายในเซลล์เกิดความไม่สมดุล
เป็นตัวการกระตุ้นมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด

โดยในระยะสั้นอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น ระคายเคืองดวงตา จมูก ลำคอและหน้าอก มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจอย่างการไอ หายใจลำบากหรือปอดถูกทำลาย เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดและโรคปอดอาจมีอาการแย่ลง บางรายที่เป็นโรคหัวใจอาจเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคระบบทางเดินหายใจและโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ฝุ่น PM 2.5 ยังอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวน้อยและเจริญเติบโตได้ช้า ดังนั้น สตรีมีครรภ์ รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่มีภูมิต้านทานต่ำอาจเสี่ยงได้รับอันตรายจากฝุ่นชนิดนี้มากกว่าคนสุขภาพดีทั่วไป จึงควรเพิ่มความระมัดระวังและตระหนักถึงอันตรายของฝุ่น PM 2.5 มากเป็นพิเศษ

สำหรับผลในระยะยาว ฝุ่น PM 2.5 อาจไปขัดขวางการทำงานของปอด เพิ่มความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งทำให้โรคลุกลามมากขึ้นหรือมีอายุขัยลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ
วิธีดูแลตัวเองจากฝุ่น PM 2.5

หลายคนอาจไม่ทราบว่าฝุ่น PM 2.5 ไม่เคยหายไปไหนไกล เพียงแต่มีปริมาณลดลงจนเราเผลอนิ่งนอนใจ และไม่ดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากฝุ่นตัวร้ายอยู่เสมอ ทุกคนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ออกกำลังกายด้วยการเดินแทนการออกแรงมาก ๆ หากอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานอาจต้องลดทำกิจกรรมกลางแจ้ง พยายามอยู่ภายในอาคาร ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องออกไปเผชิญฝุ่นและมลพิษแทบทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ยังสามารถดูแลตนเองจากฝุ่น PM 2.5 ด้วยการพกพาอุปกรณ์ป้องกันติดตัวไว้ตลอด ดังนี้
หน้ากากอนามัยมาตรฐาน N95

หน้ากากอนามัยประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่สูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไปโดยสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากถึงขนาด 0.3 ไมโครเมตร ได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังถูกออกแบบมาให้สวมใส่แล้วกระชับพอดีกับใบหน้าเพื่อป้องกันฝุ่นเล็ดลอดผ่านเข้าไป ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้งานจึงต้องเลือกซื้อหน้ากากที่มีขนาดเหมาะสมกับรูปหน้ามากที่สุด รวมถึงเป็นหน้ากากแบบที่มีวาล์วระบายอากาศ ซึ่งจะช่วยให้หายใจและระบายความร้อนจากลมหายใจออกมาได้สะดวกมากขึ้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การผ่านมาตรฐานรับรอง การเก็บรักษาแบบแยกชิ้นเพื่อคงความสะอาดและนำมาใช้ซ้ำได้

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

สถิติผู้เข้าชม

613928
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
217
333
2069
606046
11400
39237
613928

Your IP: 162.158.106.199
2023-09-23 14:52